foto1
ความงดงามการศึกษาไทย
foto1
เพื่อ?
foto1
ไม่เข้าใจ?
foto1
วิทยากรที่กระทรวงศึกษาธิการ สปป.ลาว
foto1
ท่องทะเลทรายที่ดูไบ UAE


Friendly Links

เรียนรู้ภาษา html
isangate banner
easyhome banner
ipst banner
sakdibhornssup foundation
13 Thai free fonts
speedtest
e mil

Facebook Likebox

No. of Page View

webmaster talk

ฤา เราจะเดินทางผิดแล้วจริงๆ กับการปฏิรูป...!!!

pic 1 thairathผมอ่านข่าวนี้แล้วมีความรู้สึกอยู่ 2 อย่างครับ อย่างแรกสงสารและเห็นใจกับผู้เป็นพ่อและแม่ที่สูญเสียลูก ที่ดูเหมือนจะเป็นความหวัง เป็นผู้ที่ได้รับโอกาส กับอีกความรู้สึกหนึ่งคือ เราทำถูกแล้วหรือกับการส่งเด็กที่ขาดประสบการณ์ในการเดินทางไกล ต้องอยู่ร่วมกับคนอื่น ที่สำคัญคนอื่นที่ว่าก็ยังพูดกันคนละภาษา เราน่าจะมีการเตรียมการมากกว่านี้ ฝึกอบรมเตรียมพร้อมกันก่อนล่วงหน้า โรคคิดถึงบ้านของเด็กที่ไม่เคยออกจากบ้านนี่มันรุนแรงมากพอดู

การให้ทุน ให้โอกาสเป็นสิ่งที่ดี แต่บางครั้งก็ต้องคิดในมุมกลับบ้างว่า บ้านเราก็มีดีอยู่มากมาย จำเป็นขนาดไหนที่เราจะต้องตะกายดาวไปต่างบ้านต่างเมืองขนาดนั้น จะเหมือนกับเมืองไทยในปัจจุบันนี้หรือไม่? ที่เรากำลังเชื่อคนที่ไปต่างบ้านต่างเมืองมาเห็นว่าเขาดี ก็ลอกเลียนเขามา โดยไม่มองดูรากเหง้าตนเองบ้างเลย การปฏิรูปก็เลยต้องลูบคลำกันอย่างทุกวันนี้

ผมยังยืนว่า ระบบแต่เดิมของเราดี ไม้เรียวสร้างคนมานักต่อนัก (ไม้เรียวของครูไม่เคยฆ่าใคร อย่าไปเทียบกับบางคนที่แฝงมาในคราบครูแล้วสร้างรอยบาป จนไม้เรียวถูกหักไปแล้ว ณ วันนี้) วันนี้นักเรียนของเราเปี๋ยนไป ผมจะไม่พูดถึงเรื่องความประพฤติหรอก เอาแต่เรื่องการเรียนล้วนๆ นี่แหละ ความอุตสาหะ วิริยะ ของเด็กลดลง ด้วยสาเหตุใด?

แรงจูงใจในการเล่าเรียนไม่มีครับ เด็กทุกวันนี้เสพแต่ความสุขเฉพาะหน้าไม่เคยคิดถึงอนาคต ระบบที่ถูกสั่งมาจากเบื้องบน จากนักการเมือง ซ้ำเติมให้ระบบล้มลงไปอีก คนหนึ่งเรียน ขยันขันแข็งแทบตาย ทำงานกิจกรรมการเรียนไม่เคยขาด ได้เกรดแค่ 1 อีกคนไม่สนใจเรียน หลบเลี่ยงตลอด ครูต้องแทบกราบให้มาเรียน (ไม้เรียวไม่ได้ ดุด่าว่ากล่าวตักเตือนไม่ได้) สุดท้ายการประเมินได้ศูนย์ แต่หลังจากนั้นไม่ถึงสัปดาห์เกรดเปลี่ยนเป็น 1 ได้ เพราะคนที่สอนแล้วเด็กติดศูนย์จะถูกเพ่งเล็งว่าไม่มีประสิทธิภาพ จะโดนมาตรการที่ 3 เข้าให้

ผลที่ตามมาในขณะนี้คือ ความไม่เชื่อมั่นในระบบการศึกษาของเราเอง (ดูจาก มหาวิทยาลัยไม่เคยเชื่อเราเลย และกำลังจะโยนบาปให้เรา ด้วยการรับแบบสอบตรงด้วยปริมาณที่มากขึ้น) ค่า GPA, PR ที่พวกเรากำลังหลอกตัวเองว่ามีมาตรฐานกำลังถูกท้าทายแล้ว บางคนก็เริ่มเสียงอ่อยและถอยหลัง แต่ยังไม่กล้ารับว่าผิดพลาด ฤากระทรวงของเราจะทำอะไรไม่เป็นจริงๆ เพราะเราอยู่ในกระทรวงศึกษา ที่ศึกษามาตลอดระยะเวลากว่าร้อยปี เรายังไม่ได้เริ่มทำจริงๆ เลยหรือไร?

new citizenความวิตกกังวลในหัวใจของคนเป็นพ่อ แม่ ครู-อาจารย์ ก็คือ ความล้มเหลวในการเดินทางบนเส้นทางชีวิตของลูกๆ (ศิษย์) ในสังคมบริโภคยุคปัจจุบัน เป็นเพราะเราจัดหา ชี้ช่อง รับการเปลี่ยนแปลงโดยไม่ได้เตรียมการมาก่อน หรือเตรียมการมาไม่รัดกุมเพียงพอ จึงเกิดกรณีปัญหาอย่างมากมายในปัจจุบันนี้ เราน่าจะหยุดมองปัญหาและวิเคราะห์ก่อนจะก้าวเดินอีกสักครั้งดีไหม?

ก่อนที่เราจะบอกว่า สายเกินแก้ ยอมถอยมาหนึ่งก้าวในตอนนี้น่าจะไม่สายเกินไปหรอกครับ ผมคุยกับเพื่อนที่ทำงานทะเบียนวัดผล ทุกคนปวดขมับอยู่หนึบๆ ก็บอกให้เราเริ่มออกเดินทางด้วยความคิดฝันของเรา จะทำอย่างไรให้มีคุณภาพทำไปเลย แล้วต่อมาวันหนึ่งก็มาบอกว่า ไม่ได้การแล้วล่ะ เทียบกันไม่ได้ ต้องมีตัวเลขที่มันบอกความเหมือนกันได้ อ้าว! ตัวเลขเหมือนกันแต่ค่ามันไม่เท่ากันจะไปเทียบกันยังไง?

ปีนี้จะเป็นปีที่จะพบปัญหาในปีแรก เพราะ 80% ของโรงเรียนส่วนใหญ่ใช้หลักสูตรเดิม (ที่ดีแล้ว เพียงแต่ขาดกระบวนการเสริม) และมีอีกส่วนหนึ่งคือโรงเรียนนำตกร่องประมาณ 20% ที่เป็นหลักสูตรทำมากับมือ ชนิดต่างคนต่างเข้าใจ แม่ไก่ที่ไปฝึกอบรมมาก็เป็นไก่ตุ๋น (อ่านเรื่องนี้ที่ผมเขียนไว้เมื่อปีก่อนโน้นได้ คลิกเลย) ก็เลยได้หลักสูตรแบบลองถูกลองผิดมา แล้วต้องมาปรับแก้กันอีกหลายยก จนวันนี้ผมเลยมีหลักสูตรในโรงเรียนตั้ง 3 หลักสูตรแนะ!...

ใครจะว่าผมเป็นคนโบราณก็ยอมรับล่ะครับ ผมเรียนทันสมัยกระดานชนวน สมัยต้องท่องสูตรคูณ ท่องบทอาขยาน ท่องจำคำศัพท์ทั้งภาษาไทย (ราชาศัพท์) และภาษาอังกฤษ ผมเรียนจบ ม.ศ.3 อยากไปสอบเรียนต่อกับเพื่อนในเมืองหลวง พ่อก็บอกว่า "เรามันลูกชาวนา ยังไม่มีใครได้รับราชการ อยากให้ผมเรียนครูนี่แหละมันใกล้บ้าน" ผมก็ทำตามใจพ่อ เรียนวิทยาลัยครูอุบลราชธานี จบ ป.กศ.สูง ไปสอบบรรจุเป็นครู (สมัยโน้นการแข่งขันไม่รุนแรง พวกเราในรุ่นจะจัดสรรกันลงสนามสอบ ไม่ให้ชนกัน แข่งกับตัวเอง) ผมสอบหลายสนามก็ได้ทุกที่แหละ แต่เลือกที่อุบลฯ บ้านเกิด จากวันนั้นจนวันนี้ได้รับเหรียญอยู่ทน (อย่างหนา ด้านทน) มาแล้วครับ

ผมยังจำสมัยเรียนได้ใครสอบตกต้องซ้ำชั้น ทุกคนกลัวมาก กลัวขายหน้า อายรุ่นน้อง (แต่เพื่อน (รุ่นพี่) ผมหลายคนมันก็ตกซ้ำชั้นรอผมหลายปีนะจนทันกัน สมัยเรียนวิทยาลัยครูใครเกรดเฉลี่ยในปีสองไม่ถึง 1.5 ก็ต้องโบกมืออำลา เพื่อนผมบางคนมันรีบชิงลาออกไปสอบเป็นนักเรียนพลตำรวจก่อนที่จะอายเพื่อน เห็นไหมครับระบบมันทำให้เราต้องตัดสินใจ ต้องแข่งขันกับตัวเอง มองหาทางอนาคต

แต่ทุกวันนี้ เด็กเราขาดความเอาใจใส่ กระตือรือล้น (น่าจะอยู่ในเกณฑ์ 50/50 นะที่สนใจเรียน) ส่วนใหญ่ถ้าจะพูดแบบภาษาพ่อขุนต้องบอกว่า มันจะขี้เกียจสันหลังยาวอย่างไรก็ตาม ครูก็ต้องแทบกราบอ้อนวอนให้มันมาสอบ มาแก้ตัว พ้นๆ ออกไปเสียที แล้วรออีกสิบยี่สิบปีข้างหน้าเราจะมีอนาคตของชาติเหลืออยู่เท่าไหร่?

ด.ช.ปึก แป้นปีก โดย ไมค์ ภิรมย์พร ผลงาน ครูสลา คุณวุฒิ

มีบางท่านบอกว่า ถ้าให้เด็กซ้ำชั้นจะไปหาห้องเรียน โรงเรียนที่ไหนรองรับ? โอ๊ว! จะตกซ้ำชั้นขนาดทีละครึ่งโรงเรียนเชียวหรือครับ? ระบบจะมีการคัดสรร กระตุ้นด้วยตัวระบบเอง ทำให้เด็กรู้จักคิดวิเคราะห์เลือกเรียนในสิ่งที่เขาชอบ ที่เขาถนัด ณ ปัจจุบันนี้ เรากำลังคิดแทนเขามากไป พ่อแม่อยากให้ลูกเป็นโน่น เป็นนี่ โดยไม่เคยถามลูกว่า เขาชอบอะไร อยากเป็นอะไร? ยิ่งระบบที่สั่งให้โรงเรียนรับนักเรียนทุกคนเรียนต่อ โดยไม่มีการคัดเลือกนี่ยิ่งไปกันใหญ่ครับ ก็เรามันอ่อนแล้วจะออกไปทำไม อยู่ถูไถแถวนี้ไม่มีใครให้ออก เรียนๆ ลอกๆ ก็จบได้น่า (เป็นเสียอย่างนั้น...)

ไม่ต้องคิดเหมือนผม แต่ลองตรองดูสักนิด ท่านอาจจะถึงบางอ้อบ้างก็ได้ครับ ส่งความเห็นมาแลกเปลี่ยนกันบ้างนะครับ

ครูมนตรี โคตรคันทา
บันทึกไว้เมื่อ : 20 สิงหาคม 2547

นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซต์ของเรา ที่นี่ใช้คุกกี้ (Cookies) เก็บข้อมูล เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)

Our Policy