|
เฮ้อ! เหนื่อย ว่าจะไม่บ่นแล้วแต่ก็อดไม่ได้ ด้วยสาเหตุปีการศึกษา 2563 "วงการครูท็อปฟอร์ม" จริงๆ ไม่เชื่อผมใช่ไหมลองไปถามเพื่อนกู(เกิ้ล)ด้วยคำว่า "ครูฉาว" ดูสิครับ มีตั้งแต่ผู้บริหารโรงเรียนไปถึงครูอัตราจ้างเลย แล้วจะได้ไม่ให้นักเรียนและผู้ปกครองเขาหน่ายแหนงได้อย่างไรกัน
การพัฒนาวิชาชีพก็อีกเรื่องหนึ่ง การรับ "ครู" และ "ผู้บริหาร" เข้าไปทำงานเพื่อสร้างเยาวชนของชาติ เปลี่ยนแปลงคุณภาพการศึกษามันก็อีกเรื่องหนึ่ง ถ้าเราไม่สามารถคัดกรองคนได้ ปัญหาทั้งหลายที่ท่านไปค้นหาพบนั้น ก็คงจะไม่มีวันหมดไปแน่นอน ยิ่งอยู่ในสภาวะสังคมที่ปากกัดตีนถีบอย่างนี้ บางคนก็ห่วงแต่สร้างภาพพจน์ ติดหรูกัน มันก็ยิ่งเพิ่มเหตุแห่งปัญหาเข้าไปไม่จบสิ้น
แน่นอนว่า "ครู" ในวันที่ผมก้าวเข้ามาสู่อาชีพนี้ การแข่งขันไม่มากนัก มีตัวเลือกที่ดี คนที่เรียนเก่ง เรียนดีจนเป็นแบบอย่าง จะเลือกเรียน "ครู" ไม่ใช่หมดทางเลือกค่อยมาเรียนครู การเล่าเรียนในสถาบันการฝึกหัดครูยุคนั้น ก็ร่ำเรียนในศาสตร์หลายสาขา ทั้งความรู้ในวิชาสามัญทั่วไป วิชาเอกที่ตัวเองคิดว่าถนัดและชอบ นอกจากนั้นยังเรียน จิตวิทยาการศึกษา วิธีการสอน การดูแลนักเรียนจำนวนมาก หลายวิชาและหลายหน่วยกิตด้วย
ขอมาอัพเดทความคิดความเห็นการศึกษากันสักเล็กน้อยนะครับ การศึกษาไทยเรานั้นอยู่ในขั้นวิกฤติด้านการบริหารจัดการ สร้างภาวะความเครียดให้ทั้งกับครูผู้สอน นักเรียน ไปจนถึงผู้ปกครองโดยทั่วไป แต่เราดูข่าวแล้วมักจะพบว่า "บรรดาท่านผู้กุม(มี)อำนาจทั้งหลายเวลามีไมโครโฟนจ่อปากก็จะตอบฉาดฉาน ไม่กระดากปากแม้แต่น้อยว่า 'การเรียนออนไลน์ได้ผลดี' จนประชาชีฟังแล้วท้อใจ ถามกลับเบาๆ ในใจว่า 'จริงหรือ?' ท่านคงมีคำตอบในใจนะครับ"
เราได้รับบทเรียนจากการสั่งปิดโรงเรียน สถานศึกษา จากการระบาดโควิด-19 รอบแรกมาแล้ว ได้เห็นความไม่พร้อมในการจัดการต่างๆ เห็นความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาในทุกระดับ ที่เมื่อก่อนจะมองว่า คนชนบทห่างไกลจะมีความเหลื่อมล้ำมากที่สุด แต่พอการระบาดของไวรัสร้ายมากระทบจึงทำให้เห็นว่า คนในสังคมเมืองใหญ่นี่แหละมีความเหลื่อมล้ำมากกว่า เดือดร้อนมากที่สุดด้วย ยกตัวอย่างง่ายๆ
ปิดเรียน ให้อยู่บ้าน เรียนที่บ้าน : บ้านนอกบ้านนา ยังมีปู่ย่า ตายาย คอยดูแลได้แม้จะไม่มากนัก แต่ดีกว่าชุมชนเมือง ที่เด็กถูกทอดทิ้งทันที พ่อแม่ยังต้องดิ้นรนออกไปทำมาหากิน เด็กอยู่อย่างไร?
"ทิศทางการศึกษาไทยในวันนี้" คำถามที่ไม่มีคำตอบ (ที่ตรงกัน) แม้จะถามกับคนเดียวกันในต่างวันกัน คำตอบที่ได้ก็ไม่เหมือนเดิมด้วยเหตุผลต่างๆ นานา แม้แต่จะมาจากการตอบของเหล่าเสนาบดี ผู้มีอำนาจในการกำหนดทิศทางการศึกษา นักวิชาการ ผู้รู้ในแวดวงการศึกษาไทย เพราะอะไรหรือจึงเป็นเช่นนั้น? เพราะ "อัตตา" ไงครับเชื่อตามๆ กันมาบ้าง คิดว่ามันไม่ถูกต้องถ้าทำแบบนั้น ก็เลยมีนโยบายรายวันที่เปลี่ยนไปตามการเปลี่ยนของผู้มีอำนาจในขณะนั้น คนทำไว้ก่อนแม้จะดีเพียงใดก็ไม่ใช่นโยบายของเรา เราต้องเปลี่ยน โดยลืมไปว่า "การจัดการศึกษาไม่สามารถทำให้เกิดผลได้ในเร็ววัน" อย่างน้อยๆ มันไม่ส่งผลให้เห็นได้ภายในปี หรือสองปี ที่ท่านเป็นผู้มีอำนาจกุมนโยบายดอก แล้วสิ่งที่ทำนั้นมันวุ่นวายสับสนจนคนปฏิบัติ (ครูในโรงเรียน) จะเป็นบ้าตายเสียก่อน ตายเพราะรายงานที่ท่านทั้งหลายต้องการนั่นแหละ
กล้วยไม้มีดอกช้า ฉันใด
การศึกษาเป็นไป เช่นนั้น
แต่ออกดอกคราวไร งามเด่น
การศึกษาปลูกปั้น เสร็จแล้วแสนงาม "มล.ปิ่น มาลากุล
ผมเจอข่าว "ครูทำร้ายเด็กนักเรียนอนุบาล" ตั้งแต่วันที่ 23 กันยายน จากการมีผู้โพสท์ลงใน twitter ก็อ่านผ่านตาพร้อมนึกในใจว่า "ครู" อีกแล้วเหรอ? ไม่ได้คิดจะมาเขียนบทความเลย แต่พอเรื่องมันลุกลามและแชร์คลิปต่อๆ กันมา รวมทั้งมีการตีข่าวในสื่อออนไลน์ละสถานีโทรทัศน์ ก็เลยย้อนกลับไปดูรายละเอียดอีกครั้ง อ้าว! ไม่ใช่อย่างที่คิดแล้วนี่นา มันเลวร้ายเกินไปกับการกระทำเยี่ยงสัตว์เลี้ยง (จริงๆ แม้สัตว์เลี้ยงของผมๆ ก็รักเลี้ยงดูและรักษาเขายามเจ็บป่วยจนถึงวาระสุดท้าย จนเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลสัตว์ยังพูดว่า "น้องจัมโบ้โชคดีนะ มีคนใส่ใจดูแลแม้ยามป่วยหนัก ถ้าเป็นคนอื่นเขาคงปล่อยให้ตายไปแล้ว" จะให้ทิ้งได้อย่างไรนะ เลี้ยงดูกันมา 8 ปี เขารักเราเหมือนเรารักเขา เพียงแต่เขาพูดบอกเราไม่ได้เท่านั้น) แต่นี่ "คน" เป็นเด็กตัวเล็กๆ อายุแค่ 3-4 ขวบ กับคนที่ได้ชื่อว่า "ครูอนุบาล" ที่ใครหลายๆ คนรวมทั้งพ่อ-แม่ของเด็กเหล่านั้นคงจะเชื่ออย่างสนิทใจว่า "จะดูแลลูกเขาเป็นอย่างดี ให้สมกับค่าเล่าเรียนที่จ่าย (ตามข่าวว่า อาจมีตัวเลข 5-6 หลัก)"
นอกจากเรื่องทำร้ายร่างกายและจิตใจเด็กแล้ว ยังมีข่าวเรื่อง "อาหารกลางวัน" ซ้ำเติมมาอีกนะ นึกว่าจะหมดปัญหาไปแล้ว (แต่เป็นคนละโรงเรียนกัน) มันสะท้อนปัญหาให้เห็นแล้วล่ะว่า "มาตรฐานวิชาชีพครู" ที่สังคมเคยคาดหวัง มันกำลังหดหายไปจากระบบการจัดการศึกษาไทย ได้เวลาที่จะต้องมีการปฏิวัติ ปฏิรูปกันจริงจังเสียที เรื่องนี้สะเทือนไปถึงกระทรวงศึกษาธิการ ความเชื่อมั่นของผู้ปกครองที่มีต่อโรงเรียนในระบบการศึกษาไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ก็เลยอยากหยิบประเด็นนี้มาวิเคราะห์กันสักเล็กน้อย
ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซต์ของเรา ที่นี่ใช้คุกกี้ (Cookies) เก็บข้อมูล เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)